วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประวัติวัดเขาพระ

ประวัติวัดเขาพระ


ประวัติวัดเขาพระ


วัดเขาพระ ตั้งอยเู่ลขที่ ๙๑ หมู่ที่ ๑ ต าบลทับคาง อ าเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์
๗๖๑๔๐ ตั้งเป็นวัดเมื่อวนั ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ตั้งชื่อวัดเพราะชาวบ้านมาเจอหินเป็น 
โกลนเศียรพระบนยอดเขา จึงเรียกว่า “วัดเขาพระ” ปัจจุบันหินนั้นได้ไปอยู่ที่วัด 
ดอนทรายและเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านได้ไปกราบไหว้ในเวลาต่อมา
ที่ตั้งวดัเขาพระ เป็นเนินภูเขาไม่สูงมากนัก ชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาพระ” มีบ่อน้ำ ชาวบา้นเรียกว่า
“บ่อทอง” เพราะเดิมเป็น เหมืองทองคำ ปัจจุบันเลิกทำเหมืองทองคำ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐
วัดเขาพระ เป็นวดัราษฎร์ สังกดัคณะสงฆม์ หานิกาย ไม่ปรากฏชื่อผูข้ออนุญาตสร้างวัด ที่ดินตั้ง
วัดจำนวนเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๗๐ ตารางวา ตามหลักฐานที่ดิน นส. ๓ เล่ม ๑ หน้า ๑๖๔ มีนายเนียม 
บุญมณี เป็นเจ้าของที่ดิน ยกให้เพื่อสร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๓ กนัยายน พ.ศ. ๒๕๐๑ ซึ่งมีอาณาเขตของ
ที่ดินดังนี้
ทิศเหนือ จรดลาห้วย
ทิศใต้ จรดทางเกวียน
ทิศตะวันออก จรดทางเกวียน
ทิศตะวันตก จรดลาห้วย
เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พระครูภาวนาวิริยาจารย์ (สุธรรม) หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า
“หลวงพ่อบุญ” เจ้าอาวาสวัดเขาพระ ท่านเล่าให้นายแฉล้ม สุยพงษ์พนัธ์ฟังและได้ บันทึกเป็นเรื่องเล่าจาก หลวงพ่อ ไว้ว่า ท่าน (หลวงพ่อ บุญ) พร้อมด้วยพระอินทร์คา ทั้งสองเป็นศิษยข์องหลวงพ่อ สด (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรีได้เดินธุดงคม์ าตามถนนเพชรเกษม ถึงบ้านดอนทราย ตำบลทับคาง มีทาง แยกเป็นทางเกวียนไปทางทิศตะวันตก จึงเดินตามทางเกวียนต่อด้วยการเดินบุกป่ามาจนถึงเนินเขาพระระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร พิจารณาว่า ภูเขาแห่งนี้เป็นที่สงบสงัด เงียบ เหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาปฏิบัติกรรมฐาน ตามแนวทาง “วิชาธรรมกาย” จึงพักอาศยัอยู่ที่นี่โดยใช้กลดกางเป็นที่พักทั้ง ๒ รูปต่อมาได้ปลูกสร้างเป็นเพิงที่พักหลังเล็กๆ ๒ หลัง ข้างบนเนินเขา และเผยแพร่วิชาธรรมกายไดก้วา้งขวางมากยิ่งขึ้น หลวงพ่อ บุญ (พระครูภาวนาวิริยาจารย)์ เล่าต่อไปว่า นับจากนั้น ไม่นานนักประชาชนทั้งในท้องถิ่น และ ต่างท้องถิ่น ได้ร่วมกัน สร้างศาลาเอนกประสงค์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และเริ่ม ทยอยจัดสร้างเสนาสนะขึ้นอีกหลายหลัง เมื่อพิจารณาเห็นว่าชาวบ้านทั่ว ไปมีความศรัทธาและเริ่มมาจัดกิจกรรมมากขึ้น ท่านจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเข้าพบอธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมป่าไม้ และอธิบดีกรมชลประทาน เพื่อขออนุญาตดำเนินการสร้างวัด ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีจนสามารถสร้างวัด และ ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด เมื่อวัน ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐โดยที่ดินรอบบริเวณเขาพระเป็นที่จับจองของบรรดานายทหาร นายตำรวจหลายราย รายละ ๖๐ ไร่จนถึง ๑๐๐ ไร่และที่ดินเหล่านี้ต้องมีอายุการจับจองเกิน ๑๐ ปีจึงจะทำ การออกโฉนดที่ดินได้ซึ่งผู้จับจองที่ดินเหล่านี้ได้ดำเนินการออกโฉนดและทำพินัยกรรมระบุถวายให้วัดเขาพระไว้โดยระบุว่า “ห้ามบุคคลที่อยเู่บื้องหลังคัดค้านโดยเด็ดขาด” ปัจจุบันวัดได้ข้อออกโฉนดที่ดินเป็นของวัดเขาพระเรียบร้อยแล้ว รวมเป็นเนื้อที่ ๘๐๐ ไร่ เศษ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสามพระยาในขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้พระสมุห์สุธรรม ถิราโส (พระครูภาวนาวิริยาจารย์) ซึ่งดา รงตา แหน่งผู้ช่วยเจ้า อาวาสพระอารามหลวงชั้นโท เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาพระ นับเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเขาพระ
 เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑ พันโทผัน คุณนายชื่น และคุณรัตนาภรณ์(แดง)อินทรกา แหง ณ
นครราชสีมา ได้ชักชวนญาติสนิทมิตรสหายพร้อมเพื่อนที่เป็นทหาร ทั้งผู้บงัคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบญัชามาร่วมสร้างอุโบสถบนยอดเขาเป็นอุโบสถ ๒ ชั้น มีประตูด้านหน้า และด้านข้างข้างละประตู ชั้น บนเป็นสถานที่ประดิษฐานพระประธาน และประกอบสังฆกรรม ส่วนชั้นล่างเป็นที่พกัของผู้ปฏิบิตัธรรม ทางเข้าอุโสถชั้นล่าง ภายในชั้น ล่างอุโบสถโดยมีหลวงจบกระบวนยุทธ เป็นประธาน และมีผู้ร่วมเป็นกรรมการหลายท่าน อาทิขุนทยานรานรอน พลโท บัญญัติ นิลคุปต์ พลตรีประเสริฐ รอดบางยาง เจ้ากรมทหารช่างราชบุรีพันเอกณรงค์กิตติขจร พลเอกยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค(ยศใน ขณะนั้น ) นายลิขิตสมาขันนายซิพุฒ แซ่ด่าน เป็นต้น ไดก้ราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จมาเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์อุโบสถในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ 
เมื่อก่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว 
คณะกรรมการดำ เนินการก่อสร้างได้ กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถและฝังลูกนิมิตซึ่งเสด็จ มาพร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๒ พระองค์ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๖ และทรงปลูกต้นโพธิ์ ศรีลังกาไว้ในอุทยานพระพุทธศาสนา ๑ ต้น
วัดเขาพระ มีที่ธรณีสงฆ์ ที่มีโฉนดที่ดินแล้วอีกจำนวน ๗ แปลง 
ได้แก่โฉนดเลขที่ ๗๖๕๓,๗๖๕๕, ๗๖๖๐, ๗๖๖๑, ๗๖๖๒, ๗๖๖๓ และ ๗๖๗๐ เนื้อที่รวม ๓๖๐ ไร่ ๓ งาน ๔ ตารางวา สภาพทั่วไปของวัดเป็นป่าไม้เบญจพันธุ์ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พระครูภาวนาวิริยาจารย์เจ้าอาวาสวัดเขาพระรูปแรก ได้พัฒนาและอนุรักษ์ป่าไม้ไว้อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

๑. งานสาธารณูปการ (งานก่อสร้างเสนาสนะ)

วัดเขาพระได้เริ่มสร้างกุฏิสงฆ์ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๐ จนถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๐ สมัยพระครู
ภาวนาวิริยาจารย์ เป็นเจ้าอาวาส เป็นอาคารไม้ ๑๐ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๘ หลัง และ
เป็นอาคารตึก ๒ หลัง รวม ๒๐ หลังพร้อมสร้างศาลาการเปรียญ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๖ เมตร 
วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ เริ่มสร้างอุโบสถ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ขนาดกว้าง ๖เมตร ยาว ๑๒ เมตร และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร 
ยาว ๔๐ เมตร ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้สร้างวิหาร เป็นอาคารไม้สักชั้นเดียว ยกพื้นสูง 
ขนาดกว้าง ๑๐.๒๐ เมตร ยาว ๑๕.๓๐ เมตร 
พร้อมสร้างศาลาเอนกประสงค์ เป็นอาคารคอนกรีต ขนาดกว้าง ๑๒.๕๐ เมตร
ยาว ๑๕.๓๐ เมตร ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ 
ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมโรงครัว 
โรงจอดรถปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้สร้างเจดียบ์ รรจุพระไตรปิฎกหินอ่อนที่เหลือจากพุทธมณฑล
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้า 
ภาษีเจริญ ขณะดา รงสมณศักดิ์ที่ พระราชวรเวทีได้เดินทางมาเยี่ยมพระครูภาวนาวิริยาจารย์และพักค้างที่วัดเขาพระ ได้พิจารณาเห็นว่าวัดเขาพระ เป็นสถานที่สงบเงียบสงัด ร่มเย็น ดีมาก สมควรสร้างเป็นสถานพยาบาล และ พักฟื้นของผู้สูงอายุจึงได้มอบปัจจัยเป็นทุนในการก่อสร้าง 
และให้ชื่ออาคารว่า “ตึกมงคลภาวนาบดี” เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ชั้นล่างกั้น เป็นห้องๆ

๒. งานการปกครอง

วัดเขาพระถือปฏิบัติ ภายใต้การปกครองคณะสงฆ์ระดับตำบล คือเจ้าคณะตำบลทับคาง ระดับ
อำเภอ คือ เจ้าคณะอำเภอเขาย้อย ระดับจังหวัด คือ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เจ้าคณะภาค คือ ภาค ๑๕ และอยู่ในการปกครองของเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และมหาเถรสมาคม 
โดยมีเจ้าอาวาสปกครองวัด ตามลาดับดังนี้เจ้าอาวาสรูปแรกคือ พระครูภาวนาวิริยาจารย์(สุธรรม ) ปกครองวัดตั้งแต่วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (มรณภาพ)
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๕ พระสุทัน ทนฺตจิตฺโต รักษาการเจ้าอาวาส
ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ได้แต่งตั้งให้พระอธิการน้อยวณฺณวฑุ ฺฒโกดา รงตา แหน่ง
เจ้าอาวาสวัดเขาพระนับเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ และได้มรณภาพ 
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๓. งานการเผยแผ่

วัดเขาพระ โดยพระครูภาวนาวิริยาจารย์ ได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชนศึกษาหลักธรรมคำสอนทาง
พระพุทธศาสนา รวมทั้งจัดให้มีการรักษาศีลสวดมนต์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม (วิปัสสนา) 
และยังได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลทบัคาง ตามมติมหาเถรสมาคม ปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งกำหนดให้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมประชาชนในดำรงชีวติดว้ยหลัก ๘ ประการ คือ
๑. ศีลธรรมและวัฒนธรรม 
๒. สุขภาพอนามัย
๓. สัมมาชีพ 
๔. สันติสุข
๕. ศึกษาสงเคราะห์ 
๖. สาธารณสงเคราะห์
๗. กตัญญูกตเวทีตาธรรม 
๘. สามัคคีธรรม

พระครูสมุห์สมบัติปภสฺสโรเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ได้พัฒนาฟื้นฟูกิจกรรมของหน่วยอบรมประชาชน
ประจำตำบล ต่อมา และส่งเสริมการปฏิบัติธรรม การสวดมนต์รักษาศีลเจริญจิตภาวนา ทุกวันอาทิตย์
จนได้รับมิตมหาเถรสมาคม ให้จัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจา 
จังหวัด เพชรบุรีแห่งที่ ๒๙ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐

๔. งานสาธารณประโยชน์

นอกจากการอา นวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนในการจัดกิจกรรมภายในวัดแล้ว 
ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ยังเอื้อเฟื้อต่อนกัธรณีวทิยา ให้ศึกษาการค้นพบซากสัตว์โบราณ 
อายุประมาณ ๔๔๐ ถึง ๓๒๕ ล้าน
ปีพร้อมหินที่มีคุณลักษณะคล้ายหินที่ต้น พบที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

๕. งานการศึกษาสงเคราะห์

วัดเขาพระ โดยเจ้าอาวาสนับตั้งแต่เจ้าอาวาสรูปแรก เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบันจัดให้มีการมอบ
ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนโดยเฉพาะนักเรียนระดับประถมศึกษา เป็นประจำทุกปี 
ปีละประมาณ ๒๐ ทุน ทุนละ ๕๐๐ บาท

ประวัติเจ้าอาวาสวัดเขาพระ

พระครูภาวนาวิริยาจารย์(สุธรรม ) ปกครองวัดตั้งแต่วัน ที่๒๕  กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ถึง
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (มรณภาพ)
พระครูวิริยาจารย์จารย์หรือ หลวงพ่อบุญ เป็นลูกศิษยข์องหลวงพ่อสด(พระมงคลเทพมุนี) 
วัดปากน้ำ จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางธุดงค์มาปักกลดที่ป่าของ
พื้นที่ตำบลทับคางในปัจจุบันซึ่งขณะนี้เป็นเขตพื้นที่ป่าอุทยานพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติของวัดเขาพระ ในปีพ.ศ.2501 ในเวลาต่อมาทางวัดปากน้ำ ได้เชิญในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปลูกต้นโพธิ์เพื่อเป็นอนุรักษ์ป่า และในปี 2510 ได้รับอนุญาตให้จัด ตั้งเป็นวัดขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และหลวงพ่อบุญก็ได้ดำรงตา แหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกในขณะนั้น พระสุทัน ทุนติจุต ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕ พระอธิการน้อย วณณวฑฒโกได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญตั้งแต่ตอนที่เป็นสามเณรตั้งแต่เด็ก ท่านได้ถูกแต่งตั้งเป็นอธิการน้อยจากคณะสงฆ์จงัหวัดเพชรบุรี วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2559 และได้มรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พระครูสมุห์สมบัติปภสสโร ซึ่งขณะนั้น เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม จังหวัดอุบลราชธานี ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาพระจนถึงปัจจุบันซึ่งท่านเป็นคนจังหวัดเพชรบุรีและได้ถูกเชือเชิญจากเจ้าคณะสงฆ์ในจังหวัดเพชรบุรีให้มาสานต่อหลกั ปฏิบัติธรรมในเพชรบุรีเหตุที่เลือก
วัดเขาพระเพราะวัดเขาพระมีความสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

หน้าหลัก | Home
หน้าหลัก | Home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น